วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การสร้างชุดฟอนต์ตระกูล : CRU-Suttinee



CRU-FONT FAMILY : ฟอนต์ตระกูลซีอาร์ยู

FONT MAME : CRU-SUTTINEE ชื่อฟอนต์ : ซีอาร์ยู-ศุทธินี

TYPE DESIGNER : MS.SUTTINEE SAETANG




                    กระบวนการทำงาน

        Goal (เป้าหมาย)

พัฒนาอักษรชุด CRU-Suttinee ต่อจากเดิมโดยทำให้เป็นฟอนต์ลายมือของตนเอง

           Tools (เครื่องมือหลัก)

- ปากกาหมึกดำ

- เครื่องคอมพิวเตอร์

- เครื่องกราดภาพ

- โปรแกรม High-Logic FontCreator

- โปรแกรม Adobe Photoshop

      Do Did Done

Do : มีขั้นตอนและหลักฐานแสดง

ขั้นตอนการออกแบบฟอนต์ลายมือ ทั้งภาษาไทย - อังกฤษ และทำด้วยโปรแกรม

High-Logic FontCreator



ขั้นตอนที่ 1 ดาวน์โหลดเทมเพลตที่เป็น Grid สำหรับเขียนฟ้อนต์ลายมือปริ๊นและ

เขียนตัวอักษรในตาราง

ขั้นตอนที่ 2 สแกนภาพที่เขียนลงในคอมพิวเตอร์


ภาพที่ 1 แสดงภาพเทมเพลดตัวอักษรที่เสร็จและแสกนไว้แล้ว

ที่มา น.ส.ศุทธินี แซ่ตั้ง,2556

ขั้นตอนที่ 3  เปิดไฟล์สแกนในโปรแกรม Photoshop  เพื่อครอบตัดตัวอักษรที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 4  ดัดตัวอักษรในโปรแกรม FontCreator ให้ได้สันส่วนตามความเหมาะสม

 

ภาพที่ 2 แสดงการดัดตัวอักษร

ที่มา น.ส.ศุทธินี แซ่ตั้ง,2556

ขั้นตอนที่ 5  เมื่อทำการดัดตัวอักษรครบทุกตัว


ภาพที่ 3 แสดงภาพตัวอักษรต่างๆ ที่ดัดแล้วในโปรแกรม FontCerater

ที่มา น.ส. ศุทธินี แซ่ตั้ง 2556

ขั้นตอนที่ 6  การจัดวางช่องไฟ ตำแหน่งระยะห่าง หน้า-หลัง ความสูง และกำหนดเส้นโครงสร้าง Guidelines ของตัวอักษร โดยคลิกขวา  Properties

- Cap height คือ ความสูงของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่

- Median คือ ความสูงของตัวอักษรพิมพ์เล็ก

- X-height คือ ระยะห่างระหว่างเส้นฐานจนถึงเส้น Median ซึ่งเป็นช่วงของตัวพิมพ์เล็ก

- Baseline คือ เส้นฐาน


                                                  ภาพที่ 4 การปรับระยะห่าง

                                               ที่มา น.ส. ศุทธินี แซ่ตั้ง,2556

ขั้นตอนที่ 7 เมื่อจัดวางช่องไฟ ตำแหน่งระยะห่าง หน้า - หลัง ความสูง ของตัวอักษรครบทุกตัวแล้วให้คลิกไปที่  Font > Test เพื่อทดสอบการพิมพ์ ตรวจสอบระยะช่องไฟของแต่ละอักษร หากยังไม่สมบูรณ์ ให้แก้ไขตามขั้นตอนที่ 6
 ภาพที่ 5 แสดงการเรียงพิมพ์ระยะช่องไฟ ด้วยอักษรขนาด 40

                                               ที่มา น.ส. ศุทธินี แซ่ตั้ง,2556

ขั้นตอนที่ 8 ปรับความหนา/เอนของตัวอักษรโดยไปที่เครื่องมือTool > Glyph Transformer จากนั้นกดเลือกที่ Metrich > Bearings กดปุ่มลูกศรเพื่อ Add feature to script แล้วปรับตั้งค่าตามความเหมาะสม


ภาพที่ 6 แสดงหน้าต่าง Transform wrizard

ที่มา น.ส. ศุทธินี แซ่ตั้ง 2556


ขั้นตอนที่ 9 เมื่อได้ฟอนต์ที่เสร็จสมบูรณ์แบบแล้ว ให้ไปที่ Format > Naming เพื่อแก้ไขข้อมูลต่างๆ โดยเพิ่มชื่อเรา ทั้งเพลตฟอร์มแบบ Windows Uincode Unicode BMP (UCS-2) และ Macintosh Roman

ภาพที่ 7 แสดงข้อมูลต่างๆ หลังการการเปลี่ยนแปลง

ที่มา น.ส. ศุทธินี แซ่ตั้ง,2556


                         Did : ผลที่ได้รับ

ฟ้อนต์ลายมือ ภาษาไทย - อังกฤษ จากโปรแกรม FontCreator  ฟ้อนต์ชื่อ CRU-Suttinee

CRU-Suttinee-Regular

CRU-Suttinee-Italic 

CRU-Suttinee-Bold

CRU-Suttinee-Bold Italic



                Done  ได้นำไปทดสอบ-สร้าง-ประยุกต์-ใช้ประโยชน์ คือ นำมาติดตั้งเพื่อใช้เป็นแบบพิมพ์ในรายงานของวิชาออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์



การนำมาติดตั้งไดรฟ์ C > WINDOWS > Fonts เพื่อใช้เป็นแบบพิมพ์ในรายงานของวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ในโปรแกรมสร้างเอกสารต่างๆ เช่น Microsoft Word


ภาพที่ 8 แสดงฟอนต์ที่ติดตั้งลงในเครื่องแล้ว

ทีมา น.ส. ศุทธินี แซ่ตั้ง,2556




การนำฟอนต์ที่ติดตั้งแล้วมานำเสนอโดยดูตัวอย่างจาก การนำเสนอฟอนต์ของ 

ผศ.ประชิด ทิณบุตร แล้วนำมาปรับเปลี่ยนฟอนต์ใหป็นฟอนต์ของเรา 


 ภาพที่ 9 แสดงการ ShowFont ในแบบตัวอักษรชุด CRU-Suttinee

การนำ Font ไป uploadไว้ใน http://www.fontspace.com/ เพื่อแรกเปลี่ยนผลงานกัน


สามารถดาวน์โหลดฟอนต์ได้ที่ : http://www.fontspace.com/suttinee/cru-suttinee



  


วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การออกแบบโลโก้เครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษา 9 สถาบัน

แนวคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์เครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษา 9 สถาบัน

แรวคิดที่ได้ออกแบบโดยใช้รูปวงกลมสื่อถึงความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกันในสถาับัน
 ดาวแสดงถึงการมีจุดมุ่งหมายที่ได้วางแผนไว้ หนังสือแสดงถึงความเพียรพยายามในการศึกษา
หมวกบัณทิตแสดงถึำงความสำเร็จของชีวิตของการศึกษา


ภาพที่ 2 แสดงผลงานโลโก้เครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษา
ที่มา : ศุทธินี  แซ่ตั้ง
 
 
ภาพที่ 2 แสดงการออกแบบโลโก้เครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษา (ฺBlack-White)
ที่มา : ศุทธินี  แซ่ตั้ง
 
 
ภาพที่ 3  แสดงผลงานโลโก้เครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษา (Color)
ที่มา : ศุทธินี  แซ่ตั้ง
 
 
 

โครงการประกวดการออกแบบสื่อสัญลักษณ์ (Mascot)

โครงการประกวดสื่อสัญลักษณ์
ส่งเสริมการใช้แก้วน้ำประจำตัว
ดื่มน้ำสะอาดปลอดภัยจากตู้บริการน้ำดื่มในมหาวิทยาลัย

            Mascot : น้องหยดน้ำ
เป็นที่รู้จักกันดีทุกคนสำหรับคำว่า " น้ำ "  น้ำดื่มเป็นน้ำที่สะอาดมีความปลอดภัย
ปราศจากเชื้อโรค เป็นน้ำที่มีต่อสุขภาพอนามันและมีความคัญต่อการดำรงชีวิต ดังนั้น การดื่มน้ำดื่มมีส่วนสำคัญมากและ  " แก้วน้ำ "  จึงมีส่วนสำคัญมากในการดื่นน้ำเพื่อสุขภาพของทุกคน

ทั้งที่ได้ออกแบบ Mascot น้องหยดน้ำช่วยรณรงค์ให้ใช้แก้วน้ำในการดื่มอีกทั้งยังช่วยให้
รู้จักสำนึกคิดในการใช้แก้วในการดื่มน้ำทุกครั้ง

             แนวคิด : เป็นการออกแบบคาเรคเตอร์เพื่อให้เหมาะสมกับโครงการที่ได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงได้นำคาเรคเตอร์จากหยดน้ำมาใช้ในการออกแบบโดยมีความคิดให้น้องหยดน้ำ แสดงท่าทางอิรอยาบทต่างๆ และให้เป็นคาเรคเตอร์ที่น่ารักของตัว Mascot

            โทนสี : ได้ใช้สีฟ้า เพื่อแสดงถึงความสะอาดและการอนุรักษ์น้ำและความปลอดภัย
ของการใช้น้ำ



ภาพที่ 1 แสดงผลงานในการออกแบบ Mascot
ที่มา : ศุทธินี  แซ่ตั้ง


ภาพที่ 2 แสดงผลงานในการออกแบบ Mascot (ฺBlack-White)
ที่มา : ศุทธินี  แซ่ตั้ง



ภาพที่ 3 แสดงผลงานในการออกแบบ Mascot  (Color)
ที่มา : ศุทธินี  แซ่ตั้ง

Showfont CRU-Suttinee


 ภาพที่ 1 แสดงการ ShowFont ในแบบตัวอักษรชุด CRU-Suttinee
 

ภาพที่ 2 แสดงการ ShowFont ในแบบตัวอักษรชุด CRU-Suttinee

 

การนำเสนอฟอนต์ของ ศุทธินี  แซ่ตั้ง 5411301905


 วิชาออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ARTD2304 กลุ่ม102

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

05/01/56

วัน อังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

         QA โลโก้ ส่งวันที่ 19 ก.พ.56 ( QA โลโก้ คือ การออกแบบโลโก้กลุ่มแบบอัตลักษณ์)
         * 19 ก.พ.56 พร้อมสอบออนไลน์ (20 คะแนน) ข้อสอบอยู่ในที่ๆทำมาทั้งหมด
         งาน  Mascot (เป็นแบบตัวการ์ตูนในหัวข้อ ดื่มน้ำโดยการใช้แก้วน้ำ)
         ส่งอาจารย์วันที่ 9 หรือก่อนวันที่ 10 ส่งที่ห้องประชาสัมพันธ์
         แทมเพรต ขนาด 31*43 นิ้ว โปสเตอร์โดยใช้ฟอนต์เราเอง
         ISSUU ต้องเสร็จภายในวันที่ 19 ก.พ. 56 
         ตรวจรายงาน-ส่งรายงาน วันที่ 19 ก.พ. 56
         สมุดเช็ึคชื่อ-พร้อมบัตรฟ้าเก็บไว้
         งาน Gift เริ่มวันที่ 11-13 ตรวจงานวันที่ 12 ก.พ.56 เวลา 11.30 น.
         www.fontspace.com

           

        

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การจัดช่องไฟของตัวอักษร และการใช้ KERNING

By Layiji 

          การจัดช่องไฟระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว ถือว่าเป็นการออกแบบอย่างนึง นอกจากนักออกแบบต้องมานั่งคิดรูปแบบของตัวอักษรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงช่องไฟของแต่ละตัว ซึ่งบางครั้งการจัดช่องไฟอาจจะกินเวลายาวนานกว่าการรออกแบบรูปลักษณ์ของตัวอักษรเสียอีก

การจัดช่องไฟเริ่มแรกที่ Glyph metrics
          
      
การจัดช่องไฟของตัวอักษรแต่ละตัว  ต้องมีระยะหน้าและระยะหลัง  หลายคนจะประสบปัญหาอักษรแต่ละตัวเจอกันแล้วห่างไป ชิดไป มีวิธีจัดช่องไฟอย่างง่ายๆมาให้

อ่าน Glyph ให้ออก

ปัญหา ช่องไปจะเกิดกับภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษเนื่องจากว่า ภาษาไทยมีหัวมีหางมีตัวมัวนแพรวพราว ดังนั้นการจัดช่องไฟก็จะยากขึ้นตามความสวยของตัวอักษร
แต่จะจัดยังไงก็ไม่ยากเกินถ้าเราอ่าน Glyph


ภาพนี้เวลามองตัว ก. ไก่ ตัวนี้จะเห็นได้ว่าจริงๆ หลักของตัวอักษรมันคือ ขาไก่ทั้งสองข้าง ส่วนที่เป็นจงอยออกมาเป็นส่วนเสริม ไม่ใช่แกนหลักของตัวอักษรตั้งนั้นการกำหนด ระยะหน้า ระยะหลังจะแตกต่างกัน  เข้าสูตร "หน้าน้อยกว่าหลัง"
แต่ถ้า หาก ก ไก่ ของคุณ ไม่มีจงอยยื่นออกมาแบบนี้ หรืออยู่ในลักษณะ ตัว U หัวกลับ แกนขาหน้าก็จะเลื่อนไปเหมือนขาหลัง  ต้องปรับ ระยะหน้า-หลังแบบ "หน้าเสมอหลัง"
สรุปคือ ปรับให้แกนหลักของตัวอักษรมันเท่าๆกันทั้งสองข้างเป็นใช้ได้

บางตัวอักษรไม่ต้องมีช่องไฟ
เช่น สระ อิ อี อึ อือ 

อันนี้คงเข้าใจกันพอสมควรแล้วว่าทำไมถึงไม่มีช่องไฟ ก็เพราะว่า ถ้าเรามอง ตัวอักษรทั้งหมดในรูปแบบสี่เหลี่ยม ถ้าทุกตัวมีช่องไฟหมด การพิมพ์สระก็จะกลายเป็นแบบนี้
สระมันจะห่างออกไป ดั้งนั้นจึงตัดช่องไฟออกให้อักษรอยู่หน้าช่องไฟซะเวลาพิมพ์มันจะได้เป็นปกติ

ตัวอักษรหัวอยู่ใน(ด้านซ้าย)
ผ ฝ ย อ ฮ ล ส เ แ


บางคนอาจจะติดว่าเอาระยะหน้าของอักษรน้อยกว่าระยะหลัง (เพราะตัวอักษรส่วนมากใช้ระยะหน้า น้อยกว่า ระยะหลัง) แต่อักษรประเภทนี้ แกนหลัก มันเป็นอย่างในรูป ดังนั้นเราต้องเผื่อระยะหน้าเท่ากับระยะหลัง หรือบางครั้ง ระยะหน้าอาจจะมากกว่าด้วย


ฉ ณ น หนู คืออักษรที่เป็นเคสสตั๊ดดี้ที่คลาสสิคที่สุด ในเรื่องความเจ้าปัญหา การจัดช่องไฟของตัวอักษรประเภทนี้จะยากมาก โดยเฉพาะเมื่อมันมาเจอกับ สระบนทั้งหลาย

การที่จะทำให้สระอีตรงกับหาง น.หนู นั้น ต้องใช้คำสั่ง kerning เข้าช่วย ซึ่งจะพูดต่อไป แต่ปัญหาของการใช้ kerning เมื่อเราเลื่อนสระเข้าไปแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือยิ่งเลื่อนมากเท่าไหร่ อักษรตัวต่อไปก็จะยิ่งตามมามากเท่านั้น ดังรูป


มื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เลยเป็นข้อจำกัดทางการออกแบบประการหนึ่งคือ "อักษรม้วนหางไม่ควรมีหางใหญ่เวอร์เกินไป" มิฉะนั้นแล้วต้องทำ สร้าง opentype ส่วนตัวขึ้นมา ซึ่งบางโปรแกรมไม่รองรับ และการ kerning บางโปรแกรมก็ไม่รองรับเหมือนกัน ดังนั้น --- เราควรออกแบบช่องไฟให้ดีไว้ก่อน

ตัวอย่างการมอง Glyph


ปริมาตรของตัวอักษรที่อยู่ใกล้เส้นช่องไฟ
เทียบกับสั่ดส่วนความสูงทั้งหมดเป็นเปอร์เซ็น ประมาณที่อยู่ใกล้เส้นที่สุด

แต่สูตรนี้ก็ไม่ตายตัว บางตัวก็ต้องจัดเอง หรือการออกแบบตัวอักษรบางจำพวกก็ต้องจัดพิเศษเองเหมือนกัน

การใช้ kerning ด้วย metric window

เมื่อเราจัดช่องไฟระหว่างตัวอักษรดีแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ ข่องไฟของแต่ละตัวเวลาเจอกันจะไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น A V ติดกัน จะเกิดปัญหาอย่างในรูป




ดังนั้นการแก้ปัญหานี้ต้องใช้ความสามารถของ opentype เข้ามาช่วย ซึ่งเรียกว่าการใช้ kerning

** Kerning คือการกำหนดช่องว่างพิเศษของ คู่ ตัวอักษรต่างๆ ซึ่งสามารถกำหนดให้ห่าง หรือชิดกันได้ *เป็นคู่ๆไป*  นั่นหมายความว่า เฉพาะตอนที่ A เจอ V เท่านั้นถึงจะมีการกำหนดให้ชิดกันได้ แต่ถ้า A เจอตัวอื่น ก็ไม่ต้องทำอะไร

เอาล่ะ ทำยังไงล่ะทีนี้  มันมีขั้นตอนง่ายๆ 


เปิดหน้าต่าง metric window


จะได้หน้าต่างแบบนี้ เราก็ทำการพิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการ


ทำการ kerning เฉพาะคู เช่น  AV  VA  หรืออักษรไทย เช่น  สระเอ กับ ตัวมีหัวหันออก (ท บ ป ...)

* ขอย้ำว่าการทำ kern บางโปรแกรมไม่รองรับ ดังนั้นควรกำหนดช่องไฟให้สวยงามแต่แรกจะดีที่สุด พยายามพึ่งพิงการจัด kerning ให้น้อยที่สุด *

สุดท้ายนี้ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
ref : http://www.f0nt.com/forum/index.php/topic,6310.0

29/01/56

วัน อังคาร ที่ 29 มกราคม 2556

       ตอบแบบสอบถามใน http://art.chandra.ac.th/survey/
       ทำแบบการประเมิน http://humannet.chandra.ac.th/
    
- Dropbox สร้างโฟเดอร์เพื่อใส่งานเกี่ยวกับรายวิชา
- การทำหน้าปกโดยใช้อักษรออกแบบและงานต้องมีการปรับปรุงแก้ไขทั้งหมด
- ทำพีเซ็นและนำเสนอขั้นตอนงานต่างๆ งาน Gift
- ทำ Mascot ส่งก่อนวันที่ 10 นี้ *งานบังคับ ส่งประกวดที่  http://water.chandra.ac.th/
โดยศึกษาวิธีการทำ Mascot ปริ๊นมาขนาด A3   ตัวอย่าง http://logosociety.blogspot.com/
- ทำรายงานการออกแบบ

22/01/56

วัน  อังคาร ที่ 22 มกราคม 2556

      - เตือนการสมัคร ISSUU ส่งงานในกลุ่มโทโปกราฟฟิก
      - พร้อมทั้งดูตัวอย่างใน ISSUU รายงานจากรุ่นพี่
      - ตรวจงานฟอนต์ลายมือแต่ละคน
 สอนวิธีการเปลี่ยนไฟล์ Tools>Automatic Naming Wizard>Next>Finish
fordesigne.com เว็บไซต์แนวทางการดีไซน์


วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการทำ"font effect" ในการ์ตูน

วิธีการทำ  "font effect"  ในการ์ตูน

 "font effect" หรือตัวเสียงประกอบเอฟเฟคในการ์ตูน ซึ่งจะทำให้ให้งานของเราดูไม่นิ่งและเงียบเกินไปในบางช็อต

 ที่มา : ภาพตัวอย่างจาก"ศาสตราอสูร" การ์ตูนที่นักเขียนน่าตาดีที่สุดในประเทศเทย)

 

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ  font effect หรือ sound effect (จะใช้คำสั้นๆว่า "ตัวเสียง")
ตัวเสียงนั้นจะแบ่งออกเป็น3รูปแบบ(ซึ่งจริงๆมีมากกว่านั้น) ได้แก่
-ตัวดำ
-ตัวขาว
-ตัวโปร่งใส
รูปตัวอย่างด้านบนจะเป็นประเภทตัวโปร่งใส... แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่ารูปไหนช่องไหนควรใช้ตัวเสียงแบบไหน ซึ่งจากการได้ลองใช้งานจริงแล้ว ตัวเลือกที่ดีที่สุดนั้นคือการ "ใช้ให้เข้ากับองค์ประกอบงาน"
 ใช้ให้เข้ากับองค์ประกอบงาน?  องค์ประกอบงานก็เหมือนกับองค์ประกอบภาพหรือคอมโพสต์ เราควรจะเลือกใช้ตัวเสียงเพื่อเติมเต็มและตกแต่งภาพด้วย นอกเหนือจากการที่เราจะใช้มันแค่แสดงเสียงเอฟเฟ็คเฉยๆ งานของเราจะได้ดูสมบูรณ์ขึ้น และดูไม่ขัดตาจนเกินไปเวลาที่เราใส่ตัวเสียงลงไปแล้ว
ตัวอย่าง

     อีกปัจจัยสำคัญในการใช้ตัวเสียงให้ถูกรูปแบบและเหมาะสมกับงานนั้น คือให้ตัวเสียงมาทับหรือทำลายทัศนียภาพของตัวงานเราและอย่างที่บอกไปคือใช้ให้เหมาะกับตัวงานของเรา เช่นถ้างานเราโล่งๆโล้นๆเกินไปก็อาจจะใช้ตัวเสียงดำทึบ หรือถ้ามันดูมืดและแน่นอยู่แล้วก็อาจจะใช้ตัวเสียงขาว หรือถ้างานเรามีดีเทลเจ๋งๆเยอะๆก็อาจจะใช้ตัวเสียงโปร่งใสแทนเพื่อไม่ให้ ดีเทลงานดีๆของเราโดนปิดหายไปหมด
     รู้วิธีการใช้งานคร่าวๆไปแล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วเราจะสร้างฟอนท์ตัวเสียงต่างๆขึ้นมาได้อย่างไร? 
      แน่นอนแต่ละคนย่อมมีเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในเอนทรี่นั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ชอบใช้ เพราะตัวงานจะออกมาค่อนข้างเป็นระเบียบ ดูไม่เผา ไม่ฉูกละหุกเกินไป ตัวงานออกมาจะดูตั้งใจทำกว่าแค่ถมๆปาดๆไปให้เสร็จ
.........................................................................
 รูปแบบตัวอักษรไม่ตายตัว ขอแค่วาดออกมาให้ได้ฟีลของตัวเสียงหน่อยก็ok

ขั้นตอนการใช้งาน เรามาดูกันเลยดีกว่า
...................................................
ขั้นแรก เปิดไฟล์ตัวเสียงกับต้นฉบับงานขึ้นมา
ขั้นตอนการใช้งาน เรามาดูกันเลยดีกว่า
....................................................
ขั้นแรก เปิดไฟล์ตัวเสียงกับต้นฉบับงานขึ้นมา
 ใช้ magic wand ทำการ selection ตัวอักษรที่เราต้องการ

แล้วนำไป copy>>>pasteใส่ตัวงานทีละตัวอักษร จนได้เป็นคำ อย่าลืมจัดเรียงให้สวยงามด้วยนะ


จากนั้นเราต้องทำการ merge down เลเยอร์ตัวอักษรแต่ละตัวให้กลายเป็นเลเยอร์เดียวกันก่อน(คือ..การ รวมเลเยอร์)
โดยการกด ctrl ค้างไว้ แล้วกดคลิ๊กที่เลเยอร์ตัวเสียงที่เราเอามาแปะๆในต้นฉบับไว้ เมื่อเลือกครบทำเลเยอร์แล้ว ก็กด ctrl+e เลเยอร์ตัวเสียงก็จะรวมกันกลายเป็นเลเยอร์เดียว
 ทีนี้ก็จัดการย่อหรือขยายตัวเสียงตามต้องการ แล้วนำไปจัดวางตามตำแหน่งที่ต้องการ
 จากนั้นเลือกเครื่องมือ rectangular marquee tool....งงล่ะสิว่ามันอะไร เอาเป็นว่ากดคีย์ลัดตัว M ไปเลย จะได้ไม่งง (มันคือได้ที่ selection เป็นกรอบสี่เหลี่ยมหรือวงกลมนั่นแหละ)
จากนั้น คลิ๊กขวาที่รูป(เลเยอร์ตัวเสียงนะ) เลือก free transform แล้วกดคลิ๊กขวาอีกครั้งนึง แล้วเลือกไปที่ distort
 จากนั้นเราเอาเมาส์ไปดึงยึดไปมาให้ได้รูปตามใจชอบ ดึงบริเวณมุมของ transformได้เลย ให้ได้รูปร่างของตัวเสียงที่่เราต้องการ

 
แค่นี้เอง
แต่มันยังไม่เสร็จ...ต่อไปจะเป็นการจบงาน3รูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะมีแบบตัวดำ ตัวขาว และตัวโปร่งใส
 .............................................
แบบตัวดำ
หลังจากจบขั้นตอนหลัก ให้เราไปที่ layer>>layer style>>stroke...
ตรง color ให้เราเลือกเป็นสีขาว และตรง size จะเป็นการเว้นขอบขาวให้ตัวเสียงของเราไม่ให้ไปทับต้นฉบับ ก็เลื่อนๆเอาแต่พอดี
...........................................
แบบตัวขาว
หลังจากจบขั้นตอนหลัก ที่เลเยอร์ตัวเสียง ให้เราinvertสีของตัวเสียงเสียก่อน โดยการไปที่ image>>adjustments>>invert (หรือง่ายๆ กด ctrl+iไปเลย) ตัวเสียงสีดำของเราก็จะกลายเป็นสีขาวทันที
 จากนั้นไปที่ layer>>layer style>>stroke... ตรงcolor ให้เราเลือกเป็นสีดำ และตรงsizeจะเป็นการเว้นขอบสีดำให้กับตัวเสียงสีขาของเรา

ยังไม่เสร็จนะ เราต้องเว้นขอบขาวนอกขอบดำอีกทีนึง สำหรับตัวเสียงสีขาวนี้
ให้เราสร้างเลเยอร์ใหม่ขึ้นมา แล้วกดรวมเลเยอร์(merge down ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว) รวมระหว่างเลเยอร์ใหม่กับเลเยอร์ตัวเสียงเข้าด้วยกัน
จากนั้นไปที่ layer>>layer style>>stroke... เว้นขอบขาวให้ตัวเสียงซะอีกที เป็นอันเสร็จ
 ...........................................
ตัวเสียงแบบโปร่งใส
วิธีทำ ให้เราใช้ magic wand selection ตัวเสียงของเราเอาไว้ แล้วใช้ยางลบ ลบทิ้งออกให้หมดเลย

ยังไม่ต้องเอาselectionออก ไปที่ layer>>layer style>>stroke... ตรง color ให้เราเลือกเป็นสีดำ size ตามใจชอบ

แล้วเอา selection ออก สร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่แล้วเอาเลเยอร์ใหม่นั้นรวมเข้ากับเลเยอร์ตัวเสียงซะ
จากนั้นก็สเต็ปเดิม ไปที่ layer>>layer style>>stroke... ตรง color ให้เราเลือกเป็นสีขาว เพื่อเว้นขอบขาวให้กับตัวเสียงนั่นเอง
 เรียบร้อย
tip - ควรทำตัวเสียงให้เสร็จเป็นคำๆไปอย่าไปทำค้างๆไว้ แล้วค่อยมาเว้นขอบขาวหรือทำ stroke รวดเดียวและสำหรับคนที่ขี้เกียจมานั่งทำตัวฟอนท์เอง (ซึ่งจริงๆควรจะทำเองนะ ฝึกไว้)