วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชนิดฟอนต์ในโลก...ที่รู้จัก ?

           ชนิดของฟอนต์
ชนิดของฟอนต์ในโลกแบ่งตามที่รู้จักออกเป็น 9 ชนิด คือ


1. Serif เซริฟ คือ ฟอนต์ตัวพิมพ์หางอักษขระบาง แบ่งเป็นแบบย่อยได้อีก คือ

  1.1 ฟอนต์ดั้งเดิม มีหางกระจึ๋งนึง
  1.2 ฟอนต์ยุคปรับเปลี่ยน หางยาวออกมาหน่อย ปลายหางแคบเข้า
  1.3 ฟอนต์ยุคใหม่ หางยาวเท่ายุคปรับเปลี่ยน แต่ปลายหางกว้างเท่าโคนหาง


 

2. Slab Serif สแลบ เซริฟ
คือ ฟอนต์ตัวพิมพ์หางอักขระหนา





3. Sans Serif แซนส์ เซริฟ คือ ฟอนต์ตัวพิมพ์ไม่มีหางอักขระ










   

4. Script สคริปต์ คือ ฟอนต์ตัวเขียน หรือ ฟอนต์ตวัด ฟอนต์ลายมือทุกชนิดคือฟอนต์ชนิดนี้


5. Blackletter แบล็คเล็ตเตอร์ คือ ฟอนต์ประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นในยุคนิยมเครื่องพิมพ์เล็ตเตอร์เพรส
   ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดแรกของโลก เกิดขึ้นครั้งแรกในจีน
   ที่ใช้การแกะสลักไม้เป็นตัวหนังสือนูนต่ำใช้แทนแม่พิมพ์


6. Display ดิสเพลย์ คือ ฟอนต์ที่พัฒนาและสร้างขึ้นในยุคที่ใช้เครื่องพิมพ์แบบเล็ตเตอร์เพรส ในการพิมพ์หนังสือพิมพ์ และจำเป็นต้องใช้ฟอนต์ตัวหนังสือขนาดใหญ่ในการพาดหัวข่าวซึ่งตัวหนังสือที่ใหญ่เกิน 36 pt หมึกจะไปคั่งในแม่พิมพ์มากเกินไป เมื่อพิมพ์ลงกระดาษแล้ว หมึกมักจะเลอะเทอะหรือกระจายฟุ้งออกจนเละเทะ จึงต้องตัดทอนบางส่วนของอักขระออกเพื่อดักหมึก และเราก็พบได้ในระบบการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์แบบฉลุ ที่ต้องตัดทอนบางส่วนของอักขระเพื่อเชื่อมไม่ให้แม่พิมพ์บิดเบี้ยวไปลองจินตนาการถึงแผ่นพลาสติกที่เจาะเป็นตัวหนังสือเป็นแผงๆ ที่สมัยก่อนเราใช้ทาบกระดาษและเอาเมจิกระบายตามช่อง หรือบล็อกสกรีนเสื้อก็ได้ ระหว่างตัวหนังสือจะต้องมีเส้นมายึดแบบกลางตัวอักษรอย่าง 0 ก็จะเป็น ( ) แบบนั้นแหล่ะ ต่อมาจนถึงยุคการพิมพ์สมัยใหม่ เทคโนโลยีในการสร้างแม่พิมพ์ถูกพัฒนาขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องตัดทอนบางส่วนของอักขระออกเพื่อดักหมึกอีก แต่อย่างไรก็ดีลักษณะพิเศษของฟอนต์แบบดิสเพลย์ ยังคงอยู่ที่การตัดทอนบางส่วนของอักขระออก เราจึงนับรวมฟอนต์


 7. Monospace โมโนสเปซเซ็ด คือ ฟอนต์ที่มีขนาด glyph เท่ากันหมด อย่างฟอนต์ที่เกิดขึ้นในยุดเครื่องพิมพ์ดีด เนื่องจากกลไกของเครื่องพิมพ์ดีด จำกัดให้ตัวหนังสือต้องอยู่ในหน้าตัดแม่พิมพ์บนแกนเหล็กที่เท่ากันทั้งหมดนั่นเอง

8. Dingbat ดิงแบต คือ รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ถูกสร้างให้มาอยู่ในรูปแบบฟอนต์

9. Mimicry มิมมิครี คือ ฟอนต์ล้อเลียน หรือ ฟอนต์เลียนแบบ พบได้ทั่วไปในฟอนต์ที่เลียนแบบวิธีเขียนจากตัวอักขระภาษาอื่น อาทิ ฟอนต์ไทยลานนา ฟอนต์ไทยสไตล์จีน ฟอนต์อังกฤษสไตล์ญี่ปุ่น
                     หนังสือโบราณสมัยราชวงศ์ถังของจีน
                                       ที่ถูกพิมพ์ด้วยบล็อกพิมพ์ที่แกะสลักจากไม้
                                      ถือเป็นสิ่งพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ถูกค้นพบ




เมื่อเกิดกระแสนิยมเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ขึ้นในยุโรป และต่อๆ มาอีกในทุกทวีป แม่พิมพ์ก็ถูกทำขึ้นจากโลหะ ทำให้เกิดศิลปะตัวอักษรประดิษฐ์ ทั้งไทโปกราฟี และคัลลิกราฟีขึ้นมา สังเกตว่าบนตัวอักษรจะมีลวดลายโค้ง เว้า ตวัด อ่อนช้อย งดงาม และคลาสสิค พบมากในฟอนต์แบบย้อนยุคสไตล์วินเทจ


ระบบการพิมพ์เล็ตเตอร์เพรส








ตัวอย่างบล็อกแม่พิมพ์โลหะระบบเล็ตเตอร์เพรส











ระบบการพิมพ์นั้น แรกมีในสยามก็คือ   โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ 

The Bangkok Recorder หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย   ( ตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ )

 

ref : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry
     

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

20/11/2012

วัน อังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน 2555


         -การหาแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์และทุกครั้งที่ศึกษาและบันทักลงใน Google drive ทุกครั้งที่ศึกษามารวมทั้งข่าวสารที่ได้หาเองก็ต้องบันทึกลงใน Google drive  หรือฟอนต์ต่างๆที่สนใจ สรุปว่า ศึกษาอะไรมาก็ให้ใส่ลงใน Google drive ทั้งหมด
         -คิดงานกลุ่ม (Gift) รายงานและนำเสนองานสิ่งที่จะขายกัน พร้อมกับการออกแบบโลโก้กลุ่ม
         -บันทึกแหล่งเรียนรู้จากเว็บต่างๆ แล้วแชร์สัปดาห์ละ 1 เว็บ พร้อมทั้งศึกษาข่าวทีได้มาแชร์
         -ย้ำ !!!!  การหาข่าวสาร 3 ข่าว อ่านหน้าชั้น ต้องเรียบเรียงสรุปเป็นสำนวนตัวเอง พร้อมทั้งบอกแหล่งอ้างอิง ก่อนส่งข่าวต้องส่งโพสและแชร์ให้อาจารย์ตรวจก่อนทุกครั้ง ที่ Google drive และการจัดค่าหน้าหระดาษให้ถูกก่อนส่ง !!!
         -ศึกษาฟอนต์ผลงานต่างๆหรือผลงานรุ่นพี่ได้ที่ http://typefacesdesign.blogspot.com
         -เว็บทำบาโค้ด  http://www.qrcode-monkey.de
         -https://chrome.google.com/webstore/category/home หน้าแรกของ Chrome เว็บสโตร์


งานที่ได้รับมอบหมาย

      สร้างตัวอักษรทำกระดูกฟอนต์ใช้ฟอนต์เดิมที่ใช้กันบ่อยๆเป็นต้นฉบับโดยใช้ "เส้นแกน" 
(ขนาด A4 แนวนอน ) เช่นพวก Angsana,CordiaUPC  โดยใช้สีเทา ทำทั้ง ภาษาไทย (ก-ฮ) ภาษาอังกฤษ (A-Z) ตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ ส่งไว้ทาง Dropbox และอัพขึ้นในของตัวเองและใส่งานในกลุ่มที่ให้โพสไว้ด้วยย

      

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

13/11/2012

วัน อังคาร ที่ 13 พฤศจิกายน 2555

           หลังจากได้มีการปฐมนิเทศจากอาทิตย์ที่แล้ว....วันนี้ก็เป็นการเริ่มเรียนวันแีรก ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง "การทำแบบสอบถาม" และย้ำเตือนกับผู้ที่ยังไม่ได้ทำ 
          - โดยการทำแบบสอบถามนี้ ผู้ที่ทำแล้วและมีรายชื่อก็จะได้รับแชร์จากที่อาจารย์ส่งมาให้ทาง Gmail เพื่อยืนยันว่ามีรายชื่อแล้วอีกทั้งต้องกรอก Gmail กับ blogspot ของเราให้เรียบร้อย
          -  ได้เข้าระบบ art.chandra.ac.th/ecourse เพื่อทำการลงทะเบียนเรียนเข้ากลุ่ม 102
และได้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนในห้องเรียน
          -  ให้ตรวจสอบ google+ และ  E-learning ด้วยว่าได้ใส่ชื่อและนามสกุลพร้อมรูปตัวเองเรียบร้อยแล้วหรือยัง ? เพื่อระบุให้ชัดเจนว่าเป็นนักศึกษาคนใด ?
          -   และสอน "Google Drive"  เพื่อให้ใช้ในการใส่ข้อมูลที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ข่าวสารที่เราแปล หรือ ตัวอักษรที่เราสนใจ เช่น Typograph และสอนการตั้งค่าจัดหน้ากระดาษ
         -    การหาข่าวสาร "Typo" หาบล็อกที่เกี่ยวข้องและแปลจาก google โดยใช้เครื่องช่วยแปลจับใจความเนื้อหาเรียบเรียงขึ้นเองเป็นภาษาเราเองมา 3 เรื่อง www.typographyserved.com หรือ  www.coca-cola-art.com และไม่ว่าจะแปลข่าวสารหรือข้อมูลอะไรที่เราสนใจก็แล้วแต่ต้องโพสไปที่ "Google Drive" ทุกครั้ง โดยต้องมีการอ้างอิงระหว่างการทำข่าวสาร โดยใช้คำย่อว่า Retfoem : การอ้างอิงทุกครั้งต้องใช้ตัวเอียง
         -    ใช้แจ้งชื่อกลุ่มที่ได้จัดกันไว้แล้ว ส่งรายชื่อภายในวันที่ 18 พ.ย. 55

 งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ !!!!

               ออกแบบชื่อ-นามสกุล ตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ โดยออกแบบในสมุดกราฟ ขนาดอักษรสูง 3 cm. หรือเทียบเท่ากับสมุดกราฟก็เท่ากับ 3 ช่อง และศึกษารูปแบบตัวอักษรที่สนใจและนำมาออกแบบ
        

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

06/11/2012

วันอังคาร ที่ 6 พฤศจิกายน 2555

             เป็นการเรียนการสอนวันแรกของรายวิชา ARTD 2304 การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์ Typography Design ในการเรียนการสอนวันแรกได้มีการปฐมนิเทศเพื่อให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนในวิชารายนี้เพิ่มเติมก่อนที่จะได้มีการเรียนในครั้งต่อไป...

             ในการเรียนครั้งแรก ได้มีการพูดคุยอธิบายเกี่ยวกับ รายวิชา,การเข้าห้องเรียน,การแต่งตัว,การทำงานกันเป็นกลุ่ม,การขาดเรียน ฯลฯ  และืทุกครั้งที่มีปัญหาหรืออยากจะปรึกษาเกี่ยวกับงานก็สามารถพบกับอาจารย์ได้ที่ห้อง
             งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ็!!!  
*การให้ทำแบบสอบถามจากเว็บไซต์(ภายในวันศุกร์นี้) และสมัคร e-mail จาก google-gmail โดยต้องติดตามงานจาก google+ ติดตามจากเมล์อาจารย์ prachid2009@gmail.com  และสมัครบล๊อกส่วนตัวของ blockspot โดยใช้ชื่อ ARTD2304-suttinee.blogspot.com อีกทั้งต้องบันทึกการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ลงในบล๊อกทุกครั้งรวมไปถึงต้องเช็คข่าวจากบล็อกอาจารย์...
*หาข่าวโดยวิเคราะห์และแปลข่าวภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวอักษรและการพิมพ์มา 3 แบบโดย http://fontstruct.com/ 
*Designboom.com เป็นแหล่งรวมคนสร้างสรรค์ และแหล่งรวมไอเดียสามารถศึกษาดูงานได้จากแหล่งเว๊ปนี้ได้ ฟอนต์ที่เป็นแหล่งความรู้ใหญ่ คือ Fonts.com,http://thaifont.info.

*ให้ศึกษาแหล่งความรู้เพิ่มเติมจากเว๊บต่างๆ

http://www.issuu.com/orops/typography
http://typefacesdesign.blogspot.com
http://typography.wordpress.com
http://art.chandra.ac.th/claroline/
http://arit.chandra.ac.th/dokeos
http://www.dafont.com
http://www.issuu.com
http://www.fonts.com
http://www.font.com