วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชนิดฟอนต์ในโลก...ที่รู้จัก ?

           ชนิดของฟอนต์
ชนิดของฟอนต์ในโลกแบ่งตามที่รู้จักออกเป็น 9 ชนิด คือ


1. Serif เซริฟ คือ ฟอนต์ตัวพิมพ์หางอักษขระบาง แบ่งเป็นแบบย่อยได้อีก คือ

  1.1 ฟอนต์ดั้งเดิม มีหางกระจึ๋งนึง
  1.2 ฟอนต์ยุคปรับเปลี่ยน หางยาวออกมาหน่อย ปลายหางแคบเข้า
  1.3 ฟอนต์ยุคใหม่ หางยาวเท่ายุคปรับเปลี่ยน แต่ปลายหางกว้างเท่าโคนหาง


 

2. Slab Serif สแลบ เซริฟ
คือ ฟอนต์ตัวพิมพ์หางอักขระหนา





3. Sans Serif แซนส์ เซริฟ คือ ฟอนต์ตัวพิมพ์ไม่มีหางอักขระ










   

4. Script สคริปต์ คือ ฟอนต์ตัวเขียน หรือ ฟอนต์ตวัด ฟอนต์ลายมือทุกชนิดคือฟอนต์ชนิดนี้


5. Blackletter แบล็คเล็ตเตอร์ คือ ฟอนต์ประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นในยุคนิยมเครื่องพิมพ์เล็ตเตอร์เพรส
   ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดแรกของโลก เกิดขึ้นครั้งแรกในจีน
   ที่ใช้การแกะสลักไม้เป็นตัวหนังสือนูนต่ำใช้แทนแม่พิมพ์


6. Display ดิสเพลย์ คือ ฟอนต์ที่พัฒนาและสร้างขึ้นในยุคที่ใช้เครื่องพิมพ์แบบเล็ตเตอร์เพรส ในการพิมพ์หนังสือพิมพ์ และจำเป็นต้องใช้ฟอนต์ตัวหนังสือขนาดใหญ่ในการพาดหัวข่าวซึ่งตัวหนังสือที่ใหญ่เกิน 36 pt หมึกจะไปคั่งในแม่พิมพ์มากเกินไป เมื่อพิมพ์ลงกระดาษแล้ว หมึกมักจะเลอะเทอะหรือกระจายฟุ้งออกจนเละเทะ จึงต้องตัดทอนบางส่วนของอักขระออกเพื่อดักหมึก และเราก็พบได้ในระบบการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์แบบฉลุ ที่ต้องตัดทอนบางส่วนของอักขระเพื่อเชื่อมไม่ให้แม่พิมพ์บิดเบี้ยวไปลองจินตนาการถึงแผ่นพลาสติกที่เจาะเป็นตัวหนังสือเป็นแผงๆ ที่สมัยก่อนเราใช้ทาบกระดาษและเอาเมจิกระบายตามช่อง หรือบล็อกสกรีนเสื้อก็ได้ ระหว่างตัวหนังสือจะต้องมีเส้นมายึดแบบกลางตัวอักษรอย่าง 0 ก็จะเป็น ( ) แบบนั้นแหล่ะ ต่อมาจนถึงยุคการพิมพ์สมัยใหม่ เทคโนโลยีในการสร้างแม่พิมพ์ถูกพัฒนาขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องตัดทอนบางส่วนของอักขระออกเพื่อดักหมึกอีก แต่อย่างไรก็ดีลักษณะพิเศษของฟอนต์แบบดิสเพลย์ ยังคงอยู่ที่การตัดทอนบางส่วนของอักขระออก เราจึงนับรวมฟอนต์


 7. Monospace โมโนสเปซเซ็ด คือ ฟอนต์ที่มีขนาด glyph เท่ากันหมด อย่างฟอนต์ที่เกิดขึ้นในยุดเครื่องพิมพ์ดีด เนื่องจากกลไกของเครื่องพิมพ์ดีด จำกัดให้ตัวหนังสือต้องอยู่ในหน้าตัดแม่พิมพ์บนแกนเหล็กที่เท่ากันทั้งหมดนั่นเอง

8. Dingbat ดิงแบต คือ รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ถูกสร้างให้มาอยู่ในรูปแบบฟอนต์

9. Mimicry มิมมิครี คือ ฟอนต์ล้อเลียน หรือ ฟอนต์เลียนแบบ พบได้ทั่วไปในฟอนต์ที่เลียนแบบวิธีเขียนจากตัวอักขระภาษาอื่น อาทิ ฟอนต์ไทยลานนา ฟอนต์ไทยสไตล์จีน ฟอนต์อังกฤษสไตล์ญี่ปุ่น
                     หนังสือโบราณสมัยราชวงศ์ถังของจีน
                                       ที่ถูกพิมพ์ด้วยบล็อกพิมพ์ที่แกะสลักจากไม้
                                      ถือเป็นสิ่งพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ถูกค้นพบ




เมื่อเกิดกระแสนิยมเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ขึ้นในยุโรป และต่อๆ มาอีกในทุกทวีป แม่พิมพ์ก็ถูกทำขึ้นจากโลหะ ทำให้เกิดศิลปะตัวอักษรประดิษฐ์ ทั้งไทโปกราฟี และคัลลิกราฟีขึ้นมา สังเกตว่าบนตัวอักษรจะมีลวดลายโค้ง เว้า ตวัด อ่อนช้อย งดงาม และคลาสสิค พบมากในฟอนต์แบบย้อนยุคสไตล์วินเทจ


ระบบการพิมพ์เล็ตเตอร์เพรส








ตัวอย่างบล็อกแม่พิมพ์โลหะระบบเล็ตเตอร์เพรส











ระบบการพิมพ์นั้น แรกมีในสยามก็คือ   โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ 

The Bangkok Recorder หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย   ( ตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ )

 

ref : http://storyinwinter.exteen.com/20090613/entry
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น